โหลดแนวข้อสอบตำรวจ ตำแหน่งการเงิน
แนวข้อสอบตำรวจ ตำแหน่ง รอง สว. ทำหน้าที่บัญชี,
การเงินและบัญชี, ตรวจสอบภายใน, การเงิน, การเงินและพัสดุ, การเงินและงบประมาณ,และปฏิบัติการ(การเงิน)
เนื้อหาของแนวข้อสอบประกอบด้วย
วิชาความรู้ความสามารถทั่วไป (Aptitude Test)
๑. ความสามารถทั่วไป
๒. ภาษาไทย
วิชาเฉพาะตำแหน่ง
๑.๑ หลักการบัญชีทั่วไป
๑.๒ หลักการและนโยบายบัญชีสำหรับหน่วยงานภาครัฐ ฉบับที่ ๒
๑.๓ มาตรฐานการบัญชีภาครัฐ
๑.๒ หลักการและนโยบายบัญชีสำหรับหน่วยงานภาครัฐ ฉบับที่ ๒
๑.๓ มาตรฐานการบัญชีภาครัฐ
๑.๔ ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)
๑.๕ พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๗และที่แก้ไขเพิ่มเติม, พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๔, กฎ ก.ตร.ที่เกี่ยวข้อง, พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.๒๕๔๖
ตัวอย่างแนวข้อสอบ
พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 ชุด 3
******************
1. ใครคือผู้กำหนดวันเวลาทำงานและวันหยุด ของข้าราชการตำรวจในกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ใน
การปฏิบัติหน้าที่
ก. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ข. ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ค. คณะรัฐมนตรี ง. ก.ต.ช.
ตอบ ง. ก.ต.ช. (ย่อมาจาก คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ)
มาตรา 9 วัน เวลาทํางาน วันหยุดราชการตามประเพณีวันหยุดราชการประจําปีและ
การลาหยุดราชการของข้าราชการตำรวจให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีกําหนด แต่ในกรณีจําเป็น
เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ ก.ต.ช. จะกําหนดให้ข้าราชการตํารวจต้องปฏิบัติหน้าที่ตาม
วันเวลาที่แตกต่างจากที่คณะรัฐมนตรีกำหนดก็ได้
2. ข้อใดคือชั้นของข้าราชการตำรวจ
ก. สัญญาบัตร ข. พลตำรวจ
ค. ประทวน ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง. ถูกทุกข้อ
มาตรา 25 ชั้นข้าราชการตำรวจ มีดังต่อไปนี้
(1) ชั้นสัญญาบัตร ได้แก่ ผู้มียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีขึ้นไป
(2) ชั้นประทวน ได้แก่ ผู้มียศสิบตำรวจตรี สิบตำรวจโท สิบตํารวจเอก จ่าสิบตํารวจ และดาบตำรวจ
(3) ชั้นพลตำรวจ ได้แก่ พลตำรวจสำรอง
3. ข้อใด ไม่ใช่ กรรมการโดยตำแหน่งของ ก.ตร.
ก. ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ข. ผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ
ค. รองผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ ง. จเรตํารวจแห่งชาติ
ตอบ ก. ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ก.ตร. ย่อมาจาก คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ)
4. ในกรณีที่สมควรปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการตำรวจให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่
เปลี่ยนแปลงไป และไม่เกินร้อยละสิบของอัตราที่ใช้บังคับอยู่ เมื่อได้รับอนุมัติงบประมาณ
รายจ่ายจากรัฐสภาเพื่อการนั้นแล้ว การปรับอัตราเงินเดือนให้กระทำโดย
ก. ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ข. ตราเป็นพระราชบัญญัติ
ค. ตราเป็นข้อบังคับ ง. ตราเป็นหนังสือ
ตอบ ก. ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
ในกรณีที่สมควรปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการตำรวจให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ถ้าการปรับอัตราเงินเดือนดังกล่าวเป็นการปรับเพิ่มร้อยละเท่ากันทุกอัตรา และไม่เกินร้อยละสิบของอัตราที่ใช้บังคับอยู่ และเมื่อได้รับอนุมัติงบประมาณรายจ่ายจากรัฐสภา เพื่อการนั้นแล้วการปรับให้กระทำโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
5. มาตรา 3 ของพระราชบัญญัติฉบับนี้ ให้ยกเลิกความในมาตราใดแห่งพระราชบัญญัติตำรวจ
แห่งชาติ พ.ศ. 2547
ก. มาตรา 66 ข. มาตรา 67
ค. มาตรา 68 ง. มาตรา 69
ตอบ ข. มาตรา 67
มาตรา 3 ให้ยกเลิกความใน มาตรา 67 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“มาตรา 67 อัตราเงินเดือนข้าราชการตำรวจให้เป็นไปตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้ อัตราเงินประจำตำแหน่งและการรับเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการตำรวจให้เป็นไปตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ เงินประจำตำแหน่งไม่ถือเป็นเงินเดือนฯลฯ
6. มาตรา 4 ของพระราชบัญญัติฉบับนี้ ให้ยกเลิกความในมาตราใดแห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547
ก. มาตรา 66 ข. มาตรา 67
ค. มาตรา 67 ง. มาตรา 69
ตอบ ค. มาตรา 67
มาตรา 4 ให้ยกเลิกความใน (5) (6) (7) (7) (9) (10) และ (11) ของวรรคหนึ่งของมาตรา 67 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“(5) ข้าราชการตำรวจยศพันตำรวจเอกอัตราเงินเดือนพันตำรวจเอก (พิเศษ) ให้ได้รับเงินเดือนระดับ ส.5 ถึง ส.6
(6) ข้าราชการตำรวจยศพันตำรวจเอก ให้ได้รับเงินเดือนระดับ ส.4 ถึง ส.5
(7) ข้าราชการตำรวจยศพันตำรวจโท ให้ได้รับเงินเดือนระดับ ส.3 ถึง ส.4
(8) ข้าราชการตำรวจยศดาบตำรวจ ให้ได้รับเงินเดือนระดับ ส.2 ถึง ส.3
ฯลฯ
7. การปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการตำรวจ จะต้องปรับตามข้อใด
ก. อันดับและขั้น ข. ระดับและชั้น
ค. ชั้นและขั้น ง. ถูกทุกข้อ
ตอบ ง. ถูกทุกข้อ
การปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการตำรวจให้เข้าอันดับและขั้น ระดับและชั้น ระดับและขั้น หรือชั้นและขั้น แล้วแต่กรณี ตามบัญชีอัตราเงินเดือนข้าราชการตำรวจตามวรรคหนึ่งและวรรคสี่ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ตร. กำหนด และให้มีผลเป็นการแก้ไขขั้นหรือชั้นเงินเดือนข้าราชการตำรวจที่กำหนดไว้ในกฎหรือมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
8. ในระหว่างที่ยังมิได้ตราพระราชกฤษฎีกาตาม มาตรา 67 วรรคสามแห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 ให้นำกฎหมายฉบับใดมาบังคับก่อน
ก. พระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. 2537
ข. พระราชกฤษฎีกาเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. 2537
ค. ข้อบังคับเกี่ยวกับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. 2537
ง. ข้อบังคับเกี่ยวกับเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. 2537
ตอบ ก. พระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. 2537
มาตรา 6 ในระหว่างที่ยังมิได้ตราพระราชกฤษฎีกาตาม มาตรา 67 วรรคสามแห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ให้นำพระราชกฤษฎีกาเกี่ยวกับเงินประจำตำแหน่งที่ออกตามพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. 2537 มาใช้บังคับกับการได้รับเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการตำรวจตามพระราชบัญญัตินี้โดยอนุโลม
9. การประเมินสมรรถภาพ ความประพฤติ ความรู้ความสามารถ และผลการปฏิบัติหน้า ใครเป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ
ก. นายกรัฐมนตรี ข. คณะรัฐมนตรี
ค. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ง. ก.ตร.
ตอบ ง. ก.ตร.
“ข้าราชการตำรวจตาม (5) (6) (7) (7) (9) (10) หรือ (11) ซึ่งได้รับเงินเดือน เต็มขั้นสูงสุดของระดับที่ตนได้รับอยู่ในขณะนั้นในปีงบประมาณใด หากผ่านการประเมินสมรรถภาพความประพฤติ ความรู้ความสามารถ และผลการปฏิบัติหน้าที่แล้ว ให้มีสิทธิได้รับเงินเดือนในระดับที่สูงขึ้นตามที่กำหนดไว้ใน (5) (6) (7) (7) (9) (10) หรือ (11) แล้วแต่กรณีอีกหนึ่งระดับ โดยเริ่มต้นให้ได้รับเงินเดือนในขั้นใกล้เคียงไม่ต่ำกว่าเงินเดือนที่ได้รับอยู่เดิม
การประเมินสมรรถภาพ ความประพฤติ ความรู้ความสามารถ และผลการปฏิบัติหน้าที่ รวมทั้งการได้รับเงินเดือนภายหลังผ่านการประเมิน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ตร. กำหนด”
10. ข้อใดถูก
ก. ข้าราชการตำรวจต้องรับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนเท่านั้น
ข. กองบัญชาการหมายความว่าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่ากองบัญชาการ
ค. กรรมการหมายความว่าคณะกรรมการข้าราชการตำรวจแห่งชาติ
ง. กองบังคับการหมายความว่าหน่วยงานที่มีฐานะเทียบเท่ากองบัญชาการ
ตอบ ข. กองบัญชาการ หมายความว่า ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่ากองบัญชาการ (มาตรา. 4)
ก. ข้าราชการตำรวจต้องรับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนเท่านั้น
ข. กองบัญชาการหมายความว่าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่ากองบัญชาการ
ค. กรรมการหมายความว่าคณะกรรมการข้าราชการตำรวจแห่งชาติ
ง. กองบังคับการหมายความว่าหน่วยงานที่มีฐานะเทียบเท่ากองบัญชาการ
ตอบ ข. กองบัญชาการ หมายความว่า ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่ากองบัญชาการ (มาตรา. 4)
ตาม มาตรา. 4 “ ข้าราชตำรวจ”หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับการบรรจุและแต่งตั้ง ตามพระราชบัญญัตินี้โดยได้รับเงินเดือน จากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือนในสำนักงานตำรวจแห่งชาติและให้หมายความรวมถึงข้าราชการในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติแต่งตั้ง หรือสั่งให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการตำรวจโดยได้รับเงินเดือนจากส่วนราชการส่วนตัวเลือกอื่น
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น